วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เรื่องเล่าจากสนาม กศน.สัญจร "การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด..และการต่อยอดองค์ความรู้เพื่ออาชีพที่ยั่งยืน"



       "การเรียนรู้ ไม่แก่เกินวัย ไม่ไกลเกินเอื้อม" ใครจะเถียงว่าไม่จริง สำหรับผมแล้ว มันเป็นเรื่องจริงครับ เพราะคนเราทุกคน ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ทั้งตอนตื่นและตอนนอน ล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น และเป็นการเรียนรู้ที่ไม่รู้จักจบสิ้น วันนี้ก็เช่นกัน ผมได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปกรรม การนุ่งผ้าให้โอ่งเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน โอ่งดินเล็ก ๆ นี่แหละครับที่หลาย ๆ คนเห็นเป็นเพียงภาชนะใช้สอยหรือใช้ตกแต่งธรรมดา ๆ นี่แหละ ซึ่งสถานที่ที่ผมไปเรียนรู้คือ งาน กศน.สัญจร 2556 ภาคตะวันออก ที่จังหวัดชลบุรี โดยวิทยากรประจำบูธจาก ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี "สามสงฆ์ทรงพระคุณ" เป็นผู้สอนและให้คำแนะนำในการทำกิจกรรม


          ในขณะที่เรียนรู้วิธีการทำอยู่ก็ได้ฉุกคิดถึงชุมชนบ้านเกิดของตนเองทันทีว่าในชุมชนที่ผมอยู่อาศัยมาตั้งแต่เล็กจนโตมีวัสดุอะไรที่น่าจะนำมาประยุกต์ทำในลักษณะนี้ได้ ผมก็คิดถึง ลูกน้ำเต้า ขึ้นมาทันที ถ้าผมนำลูกน้ำเต้าที่มีอยู่ในชุมชนของผมมาทำมันจะออกมาหน้าตาแบบไหน คงสวยงามไม่แพ้ โอ่งดิน เป็นแน่แท้ และมันเป็นแรงบันดาลใจให้ผมคิดอยากจะต่อยอดจากการเรียนรู้ในครั้งนี้ ด้วยการเอาน้ำเต้ามานุ่งผ้า ดูบ้าง


          และต้องรอดูต่อไปนะครับ นี่เป็นเพียงความคิดที่ออกมาจากหัวสมองในเวลานั้น หากมันสำเร็จขึ้นมาอย่างที่ตั้งใจไว้ ผมจะนำเอามาอวดทุกคนได้ยลโฉม "น้ำเต้าน้อยนุ่งผ้า" ของผมในโอกาสต่อไป ผมขอขอบพระคุณท่านวิทยากร ศฝส.สามสงฆ์ทรงพระคุณ เป็นอย่างสูง ที่เปิดโลกทัศน์ และให้โอกาสผมในการเรียนรู้ อันจะเป็นประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ พัฒนาทักษะวิชาชีพในอนาคตของผม ยามเมื่อผมได้กลับไปพัฒนาภูมิลำเนาบ้านเกิดของผมที่จังหวัดเลย ต่อไป

12 ความคิดเห็น:

  1. วิจิตร สำราญอาตม กลุ่มหนองหญ้าน้อย9 กรกฎาคม 2556 เวลา 03:55

    อาจารณ์โอ่งน้อยสวยมากอย่สลืมนะเก็บเอาไปสอนพวกเรากลุ่มหนองหญ้าน้อยบ้างนะค๊ะ

    ตอบลบ
  2. สมภพ สำราญอาตม์ กลุ่มบ้านหนองหญ้าน้อย9 กรกฎาคม 2556 เวลา 03:59

    เรียนไม่มีวันจบสิ้น ยิ่งเรียนมากยิ่งรู้มาก ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเอง

    ตอบลบ
  3. เรื่องเล่าจากสนาม กศน.สัญจร "การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด..และการต่อยอดองค์ความรู้เพื่ออาชีพที่ยั่งยืน" ผมคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมฐานต่างๆ ในการสัญจรจังหวัดระยอง ได้เกี่ยวความรู้ได้มากมาย เป็นสิ่งที่ดีที่ภาครัฐเห็นความสำคัญในจุดนี้ และในปี 58 ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศ AEC ต้องเป็นประเทศที่เข้มแข็งไม่น้อยหน้าในอาเซี่ยนแน่นอน ไม่เชื่อคอยดูต่อไป

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สรรเพชญ์ บุษรักษ์12 กรกฎาคม 2556 เวลา 22:27

      เรื่องเล่าจากสนาม กศน.สัญจร "การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด..และการต่อยอดองค์ความรู้เพื่ออาชีพที่ยั่งยืน" ผมคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมฐานต่างๆ ในการสัญจรจังหวัดระยอง ได้เกี่ยวความรู้ได้มากมาย เป็นสิ่งที่ดีที่ภาครัฐเห็นความสำคัญในจุดนี้ และในปี 58 ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศ AEC ต้องเป็นประเทศที่เข้มแข็งไม่น้อยหน้าในอาเซี่ยนแน่นอน ไม่เชื่อคอยดูต่อไป (เพิ่มชื่อ)

      ลบ
  4. วรรณภา บุษรักษ์13 กรกฎาคม 2556 เวลา 02:03

    การเรียนรู้ด้านศิลปกรรมทำให้คิดถึงบ้านเกิด กระถางที่ปั้นด้วยดินก่อนนำไปเผาในเตาเราก็สามารถแกะลวดลายที่เราต้องการในความคิดของตัวเอง คิดแล้วก็มีความสุขนะคะปั้นเองแกะลวดลายเอง สวยไม่สวยก็ต้องคิดเองแล้วละค่ะ

    ตอบลบ
  5. ถ้าเรามีอาชีพติดต้ว ต่อให้เรียนจบอะไรมา เราจะไม่มีวันอดตายอย่างแน่นอน
    นายคชภัค ชูเรือง กลุ่มหนองหญ้าน้อย เลขประจำตัว0899552510004

    ตอบลบ
  6. นายสมชาย เอี่ยมฉวี กลุ่มหนองหญ้าน้อย17 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:45

    "การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด..และการต่อยอดองค์ความรู้เพื่ออาชีพที่ยั่งยืน"
    ศิลปกรรมเป็นการประดิษฐ์ด้วยฝีมือที่สวยงามถือว่าเป็นอาชีพที่หน้าสนใจ(OTOP)

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2556 เวลา 23:43

    การเรียนรู้ศิลปะ ถ้าเราได้เรียนรู้ ก็จะทำให้เรามีอาชีพติดตัวแน่นอนครับ
    ชื่อนาย พีระเดช โพธิ์ชูชัชวาล
    เลขประจำตัวนักศึกษา 0899552510001
    กลุ่ม หนองหญ้าน้อย

    ตอบลบ
  8. นายปรีชา ขำวัฒนพันธุ์ กลุ่มบ้านหนองหญ้าน้อย28 กรกฎาคม 2556 เวลา 05:12

    งานศิลปที่งดงามของคนไทยเป็นการอนุรักษ์มรดกของชาติช่วยกันเผยแผ่ความงดงามนี้ไว้

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ2 สิงหาคม 2556 เวลา 00:26

    ความรู้ที่ได้รับถ้ารู้จักนำไปใช้เราก็สามารถสร้างเป็นอาชีพได้
    จิดาภา วรกุลชาญกิจ (บ้านหนองหญ้าน้อย)

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ2 สิงหาคม 2556 เวลา 00:29

    การเรียนรู้ต่างๆ ถ้ารู้จักนำไปปรับใช้ก็สามารถพัฒนาและต่อยอดเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน
    ณัชชา วรกุลชาญกิจ

    ตอบลบ